บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 9 มีนาคม 2559
บรรยากาศการเรียน
วันนี้อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าเวลาเล็กน้อยเนื่องจากต้องเคลียร์งานให้เสร็จ นักศึกษาทุกคนเข้าเรียนตรงเวลาและนั่งรออาจารย์อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยลงไปเตรียมอุปกรณ์ที่อาจารย์จัดไว้ให้ บรรยากาศในการเรียนสนุกสนานมีการเสนอไอเดียแลกเปลี่ยนกันในขณะเรียน
สาระ
1. กิจกรรมสรุปองค์ความรู้
เป็นการสรุปความรู้ในวันที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์เกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ คือ สื่อ สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอน ที่มีคณิตศาสตร์เกี่ยวข้อง
สื่อ : ลูกคิด นาฬิกาทราย เครื่องชั่งน้ำหนัก บล็อกรูปทรง บล็อกตัวเลข นาฬิกาของเล่น
การจัดสภาพแวดล้อม : ในโรงเรียนจะมีการเรียนแบบโครงการ Project approach ส่วนที่เป็นการระดมความคิดของเด็กในการเลือกเรื่องที่จะเรียนก็มีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จัดตั้งไว้ในห้องเรียน มีที่วัดส่วนสูง และปฎิทินและนาฬิกา ตารางการมาเรียนของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวันที่และเวลา โดยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
การจัดกิจกรรม : กิจกรรมศิลปะ มีการให้เด็กระบายสีเกี่ยวกับรูปทรงทางคณิตศาสตร์
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีเรื่องของพีชคณิต ความสัมพันธ์แบบชุด เช่น แตะไหล่ แตะหัว กางแขน แตะไหล่ แตะหัว กางแขน เเบบชุดเดิมไปเรื่อยๆ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ โครงการก้อนหิน มีการ ชั่ง วัด นับจำนวน เปรียบเทียบ ขนาดของก้อนหินแต่ละก้อน โดยการใช้สายวัดหรือเชือก แล้วนำมาวางเทียบกัน หากเส้นใดที่มีเหลือแสดงว่าหินก้อนนั้นใหญ่กว่า มีการแยกจัดหมวดหมู่ชนิดของหิน
2. นำเสนอ
วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมพิมพภาพจากการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติ
หลักการสอนคณิตศาสตรไวดังนี้
1. สอนใหสอดคลองกับชีวิตประจําวันการเรียนรูของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็น ความจําเปน และประโยชนของสิ่งที่ครูกําลังสอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตรแกเด็กจะตอง สอดคลองกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน เพื่อใหเด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตรทีละนอย และ ชวยใหเด็กเขาใจเกี่ยวกับคณิตศาสตรในขั้นตอไปแตสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การใหเด็กไดปฏิสัมพันธ กับเพื่อนกับครูลงมือปฏิบัติดวยตนเอง
2. มีเปาหมายและมีการวางแผนที่ดีครูจะตองมีการเตรียมการเพื่อใหเด็กไดคอย ๆ พัฒนาการเรียนรูขึ้นเองและเปนไปตามแนวทางที่ครูวางไว
3. เปดโอกาสใหเด็กไดรับประสบการณที่ทําใหพบคําตอบดวยตนเอง เปดโอกาส ใหเด็กไดรับประสบการณที่หลากหลาย และเปนไปตามสภาพแวดลอมที่เหมาะสม มีโอกาสไดลง มือปฏิบัติจริง ซึ่งเปนการสนับสนุนใหเด็กไดคนพบคําตอบดวยตนเอง พัฒนาความคิดรวบยอด และความคิดรวบยอดไดเองในที่สุด
4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรูและลําดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก ครู ตองมีการเอาใจใสเรื่องการเรียนรูเกี่ยวกับคณิตศาสตร โดยเฉพาะลําดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบ ยอด ทักษะทางคณิตศาสตรโดยคํานึงถึงหลักทฤษฎี
5. ใชวีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใชในการวางแผนและจัดกิจกรรม การจด บันทึกดานทัศนคติ ทักษะ และความรูความเขาใจของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมตาง ๆ เปนวิธีการที่ทํา ใหครูวางแผนและจัดกิจกรรมไดเหมาะสมกับเด็ก
บทบาทของครูในการจัดประสบการณดานคณิตศาสตร กลาววา การจัดประสบการณและกิจกรรมทางดาน คณิตศาสตรที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย ตองมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผูเกี่ยวของ 43 ตองศึกษาและทําความเขาใจเพื่อจะไดดําเนินการไดอยางถูกตองและเปนประโยชนตอการเรียนรู ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด ซึ่งมีนักการศึกษาไดเสนอแนะบทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย สรุปถึงบทบาทของครูวา การจัดการเรียนการสอนของครูที่มีคุณภาพ ควรจะเปนปจจุบันกับเหตุการณและไมเปนทางการ แตไมไดหมายความวาจะมีการวางแผนหรือไมมีระบบบทบาทของครูในการจัดประสบการณ ดานคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย ครูจะตองมีความรับผิดชอบสูงมีการวางแผนการจัดสิ่งแวดลอม แหงการเรียนรูใหกับเด็กซึ่งจะทําใหเด็กแสวงหาคําตอบ การจัดกิจกรรมเหลานี้เปนการวางพื้นฐาน ความคิดรวบยอดคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย
วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
-สมมติฐานในการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน-ขอบเขตการวิจัย
นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สรุปผลวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่วย ต้นไม้ หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนท้ศน์ ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์ สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ ศิลปะค้นหากิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้รขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
5.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบสรุปให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
3. กิจกรรมการเรียนรู้
การทำ mind map เรื่องราวทั้งหมดของหน่วยที่เราจะเลือก เราจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเรื่องนั้น เช่น ประเภท ลักษณะ ประโยชน์ โทษ เพื่อจะใช้ว่าจะสอนอะไรกับเด็ก การเลือกเรื่องต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ผลไม้ ผัก ยานพาหนะ โรงเรียนของฉัน ดอกไม้ น้ำ ของเล่นของใช้ สัตว์ ข้าว เป็นต้น
หน่วยที่เลือกนั้นเลือกตามสาระการเรียนรู้ 4 สาระ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ทักษะ
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการลงมือปฎิบัติงาน
- ทักษะการคิด
- ทักษะการฟังการนำเสนอ
- ทักษะการใช้เทคโนโลยี
- ทักษะการสรุปองค์ความรู้
การนำไปประยุกต์ใช้
ในการฟังการนำเสนอ วิดีโอและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สามารถทำให้มีความรู้และความเข้าใจในการจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมให้กับเด็กมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น เช่น เรื่องการทำอาหาร ก็มีการตวงเครื่องปรุง ซึ่งอยู่ในสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- ให้ความรู้ด้วยกิจกรรม
- สรุปความรู้
- บรรยายความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม
- ให้นักศึกษานำเสนอข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น