วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)

บรรยากาศการเรียน
             วันนี้มีการเปลี่ยนห้องเรียน คือ ย้ายมาเรียนที่ตึก 4 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ทำให้อาจารย์สะดวกในการเข้าสอนเพราะอยู่ใกล้ห้องพักครู บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างสบายๆ มีการนั่งแบ่งกลุ่มตามที่จัดไว้เหมือนเดิม เนื่องจากมีโต๊ะยาวทำให้สะดวกมากขึ้นในการนั่งหันหน้าปรึกษาพูดคุยกันในกลุ่ม


สาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
          เริ่มต้นด้วยอาจารย์ขอดูแผนวันศุกร์ของแต่ละกลุ่ม และให้คำเเนะนำเพิ่มเติม และอาจารย์เเจกเอกสารมาหนึ่งชุดสำหรับ 1 กลุ่ม คือ แผนการจัดประสบการณ์ โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนข้อมูลหน่วยของเราลงไป โดยอาจารย์ได้ให้คำเเนะนำในแต่ละขั้นตอน

          หลังจากจัดประสบการณ์หน่วยเรื่อง ของเล่นของใช้ เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1. เด็กสามารถแยกประเภทของของเล่นของใช้ได้ถูกต้อง
2. เด็กสามารถบอกลักษณะของของเล่นของใช้ได้
3. เด็กสามารถเก็บรักษาดูเเล จัดหมวดหมู่ของเล่นของใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ
4. เด็กบอกถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ได้ว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไร
5. เด็กสามารถใช้ของเล่นของใช้ได้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

2) สาระที่ควรเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
3) เนื้อหา
4) เเนวคิด ของเล่นของใช้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รอบตัวเรา มีหลายชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ขนาด อาจเหมือนก็แตกต่างกันก็ได้ และต้องมีการดูแลรักษาซึ่งอาจมีประโยชน์และข้อควรระวัง
5) ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
- ประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ การเคลื่อนไหว
ด้านอารมณ์-จิตใจ
- แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
- รู้จักอารมณ์ของผู้อื่น
- มีสุนทรียภาพ
ด้านสังคม
- รู้จักตนเองช่วยเหลือตนเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- มีคุณธรรม จริยธรรม
ด้านสติปัญญา
- การใช้ภาษา
- การคิด การคิดอย่างมีเหตุผล,คิดวิเคราะห์
              การคิดอย่างสร้างสรรค์
- การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพัธ์ และเวลา
ประสบการณ์สำคัญและพัฒนาการหรือคุณลักษณะตามวัย * อยู่ในหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการมีไว้เพื่อจัดการเรียนรู้ตามวัยและเป็นเกณฑ์ในการประเมินเด็ก
*เนื้อหา
6) การบูรณาการทักษะรายวิชา
คณิตศาสตร์
- การจัดหมวดหมู่
- จำนวน
- การจับคู่
- การจำเเนก
- การเปรียบเทียบจากไดอะเเกรม
- เวลา
- รูปร่างรูปทรง
- การรวม
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา
- เก็บของเข้าที่
- การปฏิบัตติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
พลศึกษา/สุขศึกษา
- เคลื่อนไหวร่างกาย
ศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ)
- การประดิษฐ์ของเล่นของใช้
- การตัดรูป เขียนคำศัพท์ของเล่นของใช้ลงในช่องว่าง
- ปั้นดินน้ำมันรูปของเล่นของใช้
ภาษา
- การฟัง ฟังนิทาน ฟังเพลง ฟังคำคล้องจอง
- การพูด โต้ตอบเเสดงความคิดเห็น
- การอ่าน อ่านนิทาน ร้องเพลง อ่านคำคล้องจอง
- การเขียน เขียนคำที่สัมพันธ์กับภาพ
7) แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม )

8) แผนการสอนวันจันทร์ - วันศุกร์
9) เทคนิคในการจัดกิจกรรม
ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การสนทนา การทดลอง สาธิต ทำแผนภูมิ เกม ระดมความคิด กิจกรรมสะท้อนภาษาธรรมชาติ ดดยการใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กเพื่อให้อิสระในการเรียนรู้

ทักษะ
1. ทักษะการแสดงความคิดเห็น
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
4. ทักษะการคิด
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้
8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
       ได้ความรู้ในเรื่องของแผนการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบต่างๆของแผน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการทำแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการให้ได้มากที่สุดในการทำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในทุกๆวัน นอกจากจะได้รู้แผนการจัดประสบการณ์ของหน่วยตนเองแล้ว ยังรู้เกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยยานพาหนะ และหน่วยผลไม้ ทำให้มีประสบการณ์และสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้

เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. บรรยาย
3. ทบทวนความรู้
4. ให้ทำงานร่วมกัน

ประเมินครูผู้สอน
           อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ข้อมูล ความรู้หลากหลายรูปแบบและละเอียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และเเนะนำสิ่งดีๆเพิ่มเติมให้เสมอ



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2559

บรรยากาศการเรียน
       อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องเรียน เข้าสอนตรงเวลา บรรยากาศการเรียนเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ สนุกสนาน มีความเป็นกันเองระหว่างอาจารย์และนักศึกษา นักศึกษาทุกคนก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำจากอาจารย์กันเป็นอย่างดี

สาระ
1. การนำเสนอนิทาน
            วันนี้เป็นการนำเสนอการร่างนิทานที่แต่ละกลุ่มได้เตรียมมาตามหน่วยแต่ละหน่วยของตนเอง ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยผลไม้ ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของวันพุธและวันพฤหัสบดี และรวมวันศุกร์เข้ามามีส่วนบ้างเล็กน้อย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มนำเสนอวันพุธ และอีก 2 กลุ่มนำเสนอวันพฤหัสบดี โดยนำเสนอในรูปแบบของนิทานพร้อมบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปร่วมด้วย

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด
          นำเสนอด้วยรูปเล่มคล้ายหนังสือนิทานบิ๊กบุค ในเนื้อหาจะพูดถึงประโยชน์ของกล้วย เช่น ส่วนก้านกล้วยสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วยสำหรับการละเล่นได้ ส่วนใบตอง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง 2 กลีบ 3 กลีบ (เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์) หรือการนำใบตองไปห่อขนมเทียนก็สามารถบอกถึงรูปร่าง รูปทรง มุม ได้

กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
         นำเสนอด้วยนิทานบิ๊กบุคขนาดใหญ่ สามารถใช้ได้ในเด็กกลุ่มใหญ่ๆ ใช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ โดยมีตัวละครที่ชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น เสื้อต้องคู่กับกระโปรง ช้อนต้องใช้คู่กับซ้อม ถุงเท้าต้องใส่คู่กันไม่สามารถใส่เพียงข้างเดียวได้ และท้ายเรื่องหนูจินได้พูดสรุปถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ คือ ของใช้นั้นใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนของเล่น เป็นของสมมติ ของเลียนแบบจากของจริง เล่นแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้
          นำเสนอด้วยรูปแบบนิทานเล่มเล็ก ใช้เทคนิคคำคล้องจอง ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกันในผลไม้แต่ละชนิด มีการใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ใหญ๊ใหญ่ เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ
            นำเสนอด้วยรูปแบบนิทานเล่มเล็ก เป็นนิทานบรรยายโดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งาน เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ เป็นต้น และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ต้องทำความสะอาดโดยการล้าง การเช็ด มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของเวลาตั้งแต่หมีน้อยตื่นนอน จำนวนของผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่จะนำไปฝากคุณยาย ทิศทางการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาและตรงไป ตำแหน่งคือมีต้นมะม่วงต้นใหญ่ตั้งอยู่หน้าบ้านเป็นต้น

            หลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอนิทานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้สรุปถึงการออกแบบนิทานเเละเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม มีการให้คำแนะนำเพิ่มเติม แล้วกับบอกวิธีการแก้ไขอย่างละเอียดเมื่อมีข้อผิดพลาด และอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปเอาอุปกรณ์เพื่อมาทำให้นิทานที่ร่างไว้ให้วาด จัดตำแหน่ง วางตัวหนังสือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยให้เสร็จสมบูรณ์

2.การนำเสนองานวิจัย
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (นางสาวยุคลธร ศรียะลา)
             เป็นการใช้ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา และศิลปะเลียนแบบ 
ทักษะคณิตศาสตร์
1. การจำแนก
2. การบอกตำแหน่ง
3. การนับเลข
4. การรู้ค่าจำนวน


ทักษะ
1. ทักษะการออกแบบ
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเล่านิทาน
4. ทักษะการใช้ประสบการณ์เดิม
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากคำแนะนำของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้จากการนำเสนอนิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อนมากขึ้น มีแนวทางในการเสริมประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์จากการบูรณาการที่เราจะเสริมเข้าไปตามหน่วยแต่ละหน่วยที่เด็กเรียนรู้

เทคนิคการสอน
1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
3. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้

ประเมินครูผู้สอน
               อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เข้าสอนตรงเวลา  มีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้บรรยากาศในการเรียนเป็นไปอย่างสบายๆ มีคำแนะนำที่ดีสำหรับนักศึกษาเสมอ คอยบอกเทคนิคแนวทางที่จะทำให้นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างสูงสุด