วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)

บรรยากาศการเรียน
             วันนี้มีการเปลี่ยนห้องเรียน คือ ย้ายมาเรียนที่ตึก 4 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ทำให้อาจารย์สะดวกในการเข้าสอนเพราะอยู่ใกล้ห้องพักครู บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างสบายๆ มีการนั่งแบ่งกลุ่มตามที่จัดไว้เหมือนเดิม เนื่องจากมีโต๊ะยาวทำให้สะดวกมากขึ้นในการนั่งหันหน้าปรึกษาพูดคุยกันในกลุ่ม


สาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
          เริ่มต้นด้วยอาจารย์ขอดูแผนวันศุกร์ของแต่ละกลุ่ม และให้คำเเนะนำเพิ่มเติม และอาจารย์เเจกเอกสารมาหนึ่งชุดสำหรับ 1 กลุ่ม คือ แผนการจัดประสบการณ์ โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนข้อมูลหน่วยของเราลงไป โดยอาจารย์ได้ให้คำเเนะนำในแต่ละขั้นตอน

          หลังจากจัดประสบการณ์หน่วยเรื่อง ของเล่นของใช้ เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1. เด็กสามารถแยกประเภทของของเล่นของใช้ได้ถูกต้อง
2. เด็กสามารถบอกลักษณะของของเล่นของใช้ได้
3. เด็กสามารถเก็บรักษาดูเเล จัดหมวดหมู่ของเล่นของใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ
4. เด็กบอกถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ได้ว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไร
5. เด็กสามารถใช้ของเล่นของใช้ได้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

2) สาระที่ควรเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
3) เนื้อหา
4) เเนวคิด ของเล่นของใช้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รอบตัวเรา มีหลายชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ขนาด อาจเหมือนก็แตกต่างกันก็ได้ และต้องมีการดูแลรักษาซึ่งอาจมีประโยชน์และข้อควรระวัง
5) ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
- ประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ การเคลื่อนไหว
ด้านอารมณ์-จิตใจ
- แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
- รู้จักอารมณ์ของผู้อื่น
- มีสุนทรียภาพ
ด้านสังคม
- รู้จักตนเองช่วยเหลือตนเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- มีคุณธรรม จริยธรรม
ด้านสติปัญญา
- การใช้ภาษา
- การคิด การคิดอย่างมีเหตุผล,คิดวิเคราะห์
              การคิดอย่างสร้างสรรค์
- การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพัธ์ และเวลา
ประสบการณ์สำคัญและพัฒนาการหรือคุณลักษณะตามวัย * อยู่ในหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการมีไว้เพื่อจัดการเรียนรู้ตามวัยและเป็นเกณฑ์ในการประเมินเด็ก
*เนื้อหา
6) การบูรณาการทักษะรายวิชา
คณิตศาสตร์
- การจัดหมวดหมู่
- จำนวน
- การจับคู่
- การจำเเนก
- การเปรียบเทียบจากไดอะเเกรม
- เวลา
- รูปร่างรูปทรง
- การรวม
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา
- เก็บของเข้าที่
- การปฏิบัตติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
พลศึกษา/สุขศึกษา
- เคลื่อนไหวร่างกาย
ศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ)
- การประดิษฐ์ของเล่นของใช้
- การตัดรูป เขียนคำศัพท์ของเล่นของใช้ลงในช่องว่าง
- ปั้นดินน้ำมันรูปของเล่นของใช้
ภาษา
- การฟัง ฟังนิทาน ฟังเพลง ฟังคำคล้องจอง
- การพูด โต้ตอบเเสดงความคิดเห็น
- การอ่าน อ่านนิทาน ร้องเพลง อ่านคำคล้องจอง
- การเขียน เขียนคำที่สัมพันธ์กับภาพ
7) แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม )

8) แผนการสอนวันจันทร์ - วันศุกร์
9) เทคนิคในการจัดกิจกรรม
ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การสนทนา การทดลอง สาธิต ทำแผนภูมิ เกม ระดมความคิด กิจกรรมสะท้อนภาษาธรรมชาติ ดดยการใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กเพื่อให้อิสระในการเรียนรู้

ทักษะ
1. ทักษะการแสดงความคิดเห็น
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
4. ทักษะการคิด
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้
8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
       ได้ความรู้ในเรื่องของแผนการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบต่างๆของแผน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการทำแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการให้ได้มากที่สุดในการทำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในทุกๆวัน นอกจากจะได้รู้แผนการจัดประสบการณ์ของหน่วยตนเองแล้ว ยังรู้เกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยยานพาหนะ และหน่วยผลไม้ ทำให้มีประสบการณ์และสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้

เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. บรรยาย
3. ทบทวนความรู้
4. ให้ทำงานร่วมกัน

ประเมินครูผู้สอน
           อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ข้อมูล ความรู้หลากหลายรูปแบบและละเอียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และเเนะนำสิ่งดีๆเพิ่มเติมให้เสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น