วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 27 มกราคม 2559


บรรยากาศการเรียน
        บรรยากาศการเรียนวันนี้ปลอดโปร่ง นักศึกษาและครูอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน ภายในห้องเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ครูและนักศึกษามาเรียนมาสอนกันตรงเวลาเป็นอย่างดี

สาระ
1. กิจกรรมการเรียนรู้
อาจารย์แจกกระดาษแข็งให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เขียนชื่อของตนเองลงไปในนั้น เสร็จแล้วให้นำไปติดบนตารางมาเรียนบนกระดานหน้าห้องที่อาจารย์ได้ออกแบบเตรียมไว้ให้

ตารางนี้สามารถนำไปใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ได้โดยการบูรณาการชีวิตประจำวันตามแต่จุดประสงค์ที่ครูจะตั้ง วิธีการจัดการเรียนรู้ได้ คือ ให้นักเรียนช่วยกันนับคนที่มาเรียนว่ามีกี่คน คนไม่มาเรียนกี่คน และรวมนักเรียนในห้องทั้งหมดมีกี่คน เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะดังต่อไปนี้

- ทักษะการนับจำนวน เช่น การนับจำนวนสมาชิก 1 เพิ่ม 1 เป็น 2 2 เพิ่ม 2 เป็นสาม และได้เรียนรู้เรื่องลำดับ เช่น น้องก มาโรงเรียนก่อนก็จะเอาชื่อไปแปะไว้ลำดับที่ 1 คนต่อไปแปะไว้ลำดับที่ 3 และไล่ลงมาเรื่อยๆ เด็กที่อยู่ลำดบสุดท้ายก็อาจจะเกิดความรู้สึกอยากจะมาเรียนเร็วๆเพื่อที่จะได้อยู่เป็นอันดับแรกได้เป็นต้น
- รู้ว่าตัวเลขสามารถแบ่งเป็นหลายกลุ่มได้ เช่นคนมาโรงเรียน 18 คน คนไม่มา 2 คน แบ่งเป็นกลุ่ม มา กับ ไม่มา
- ทักษะการนับและบอกจำนวน
- การใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับลำดับที่มาก่อนหลัง
- การเปรียบเทียบคนที่มาและไม่มาเรียน
- การจับคู่ เช่น 1 ต่อ 1 และ 2 ต่อ 2
- ได้เรียนรู้คำศัพท์ คนแรก คนสุดท้าย
- ได้พื้นฐานการบวก การลบ คือเหลือ และต้องเพิ่ม

การจัดทำตารางไม่ใช่เพียงแต่รูปแบบด้านบนเท่านั้น แต่เรายังสามารถออกแบบตารางได้หลากหลายตามแต่วัตถุประสงค์ที่เราต้องการให้เด็กเรียนรู้ เช่น การแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มรูปทรงต่างๆ เด็กยังไดเรียนรู้เรื่องรูปทรงคณิตศาสตร์เพิ่มอีกด้วย

2. การนำเสนอ
บทความ เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
   การพัฒนากระบวนการคิดจะเป็นการส่งเสริมการเรียนเลขให้เด็ก เด็กจะเรียนรู้โดย
1 การให้สัญลักษณ์ ใช้ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้แทนตัวเลข เช่น แอปเปิ้ลมี 2 ผล เป็นต้น
2 การใช้ประสาทสัมผัสตากับมือ การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3 ทักษะทางภาษา เช่น การเพิ่ม 1 เด็กเข้าใจคำว่าเพิ่ม เช่น มีขนมอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาขะต้องเข้าใจคำว่า เพิ่ม คืออะไร และจะนำมากระบวนการคิดอย่างถูกต้อง
    กระบวนการคิดวัยอนุบาลพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก คณิตศาสตร์ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย และทบทวน เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพ

วิจัย เรื่องการศึกษาพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
      เด็กชอบการลงมือทำด้วยตนเองอยู่แล้ว และยิ่งเป็นการจัดประสบการณ์ Cooking ที่เด็กได้ลงมือทำเองเด็กยิ่งชอบ และสนใจในการทำ การทำอาหารในวิจัยครั้งนี้คณิตศาสตร์ที่เด็กได้เรียนรู้คือ การวัด การตวง การประมาณ ส่วนผสมของการทำอาหาร ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน และมีทัศนคติที่ดีกับคณิตศาสตร์ไปด้วย

วิดีโอ สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน
        กิจกรรมที่มุ่งหวังจะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ จึงต้องมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝัง ความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน" เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อ การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด

3. บทเรียน
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า       อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว                   หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั้นล้า หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า     


เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก         หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ            หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย  



หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน       อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พูธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์     


เพลง  เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว       อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วแชเชือน      เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว


เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า    แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง 


เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ   แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหล่ะ 


เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ) 
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี 


ขอบเขตของคณิตศาสตร์

คำศัพท์ทางคณิศาสตร์
     ตัวเลข  ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
    คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ    ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน    การวัดเรื่องเวลา น้ำหนัก ส่วนสูง
(เวลา,การคิดอย่างมีเหตุผล)
          เช่น ถ้าตั้งใจเรียนก็จะสอบได้
(การจัดประเภทการจับคู่และการตัดสินใจ)
          เช่น ฉันเห็นว่ากางเกงตัวนี้เหมาะกับเสื้อของฉัน ฉันจึงตัดสินใจซื้อ
(การคาดคะเนปริมาณ,การเปรียบเทียบ)
          เช่น น้ำมัน 1 ขวดทอดไก่ได้ ถ 5 ถุง

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจฟังความหลากหลายของการแสดงจำนวนและใช้จำนวนในชีวิตจริง
  • (รับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม บางอย่างนำมาไม่ได้ก็ต้องเป็นสื่อ)
  • จำนวน
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
  • การใช้สัญลักษณ์รูปภาพแทนจำนวนตัวเลข

การรวมการแยกกลุ่ม
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10 คน

สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงินและเวลา
  • เงิน (ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร)
  • เวลา (ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกรับ

สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตที่เกิดขึ้นจากการจัดกระทำ

ทักษะ
  1.  ทักษะการออกแบบตารางเรียน
  2. ทักษะกระบวนการคิด
  3. ทักาะการเรียนรู้
  4. ทักษะการฟังและการตอบคำถาม
  5. ทักษะการร้องเพลงคณิตศาสตร์
  6. ทักษะการใช้เทคโนโลยี
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ได้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ได้เช่น การออกเบบสื่อควรออกแบบอย่างคุ้มค่าและประหยัดเกิดประโยชน์สูงสุดและเด็กสามารถเรียนรู้ได้จริง ครูต้องจัดการเรียนรู้โดยการตั้งวัตถุประสงค์ก่อนว่าจะให้เด็กได้เรียนรู้อะไรแล้วจึงนำมาจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
- นำเพลงคณิตศาสตร์ไปใช้สอนเด็กได้ โดยให้เด็กด้เรียนรู้จากเพลง
- บทเรียนคณิตศาสตร์สามารถนำไปจัดประสบการณ์ และเป็นเกณฑ์ที่ใช้สอนและวัดประเมินเด็กได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
        อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายในเรื่องคณิตศาสตร์ มีการออกแบบสื่อที่เกี่ยวข้องมาเป็นตัวอย่างให้เรียนรู้ สอนให้นักศึกษาคิดอย่างมีเหตุผลและมองเห็นภาพได้ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเรื่องการประหยัด

ประเมินอาจาย์ 
        อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและให้ความรู้แก่นักศึกษาอย่างเข้าใจไได้ง่าย มีการสอดแทรกคุณธรรม จริธรรมให้นึกศึกษาทุกชั่วโมงเรียน



วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพุธ ที่ 20 มกราคม 2558


บรรยากาศการเรียน
         วันนี้ครูเริ่มต้นกิจกรรมชวนคิดอีกเช่นเคย นักศึกษาก็คิดกันจนปวดหัว 55555 บรรยากาศสนุกสนานและได้ความรู้ ครูสอดแทรกข้อคิดและคุณธรรมให้หลายอย่าง พูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง วันนี้ครูอารมณ์ดีเลยทำให้บรรยากาศการเรียนดีมีความสุขไปด้วย 
*คำขวัญวันครู อนาคตก้าวไกลด้วยครูดีมีคุณธรรม


สาระ
        - จากการพับกระดาษ และแบ่งกระดาษเป็น 4 ช่อง เด็กทุกคนต่างมีความคิดไม่เหมือนกัน มีหลากหลายวิธีการที่จะพับกระดาษออกเป็น 4 ช่อง วิธีการของเด็กแต่ละคนมาจากประสบการณ์ เด็กแต่ละคนมีความคิดแตกต่างควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดอย่างมีอิสระครูไม่ควรไปสกัดกั้นความคิดของเด็ก

         เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
เด็กเรียนคณิตศาสตร์เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้
1 จำนวนและการดำเนินการ
2 การวัด
3 เรขาคณิต
4 พีชคณิต
5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

* เมื่อเด็กปฐมวัยเรียนคณิตศาสตร์แล้วต้องมีคุณภาพคือมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติ การทำได้ในทุกสาระการเรียน
* การจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก จะต้องเป็นสิ่งที่มีความหมายกับเขา เช่น ปฏิทินวันที่ 
*เด็กมีวิธีการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้เล่นได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้เลือกเล่นอย่างอิสระและมีความสุข เด็กเกิดความพึงพอใจหรือสนุกสนานเป็นการแสดงออกมาเพราะพัฒนาการของเขา

1 มีความคิดเชิงสร้างสรรค์
- นับจำนวน 1 ถึง 20 (อ่านปฏิทิน นับเพื่อนในห้อง นับเงิน เป็นต้น)
- เข้าใจหลักการการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิค และตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมการแยกกลุ่ม
2 มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและใช้คำที่บอกเวลา
3 มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปทรงเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4 มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5 มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6 มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

จากบทความเรื่อง การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เนื้อหาคณิตศาสตร์ จำนวน การรวมกลุ่มแยกกลุ่ม การวัด ปริมาตร รูปทรงเลขาคณิต การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องทบทวนความรู้พื้นฐาน แล้วเริ่มให้ประสบการณ์ใหม่สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญของเนื้อหา ฝึกทักษะปฏิบัติ ประเมิน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การจัดควรให้เด็กได้เข้าร่วมคิดและคำนึงถึงความสนใจและความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคลของเด็ก
 งานวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับจากการสาน
                        กลุ่มตัวอย่าง เด็กอนุบาล 4-5 ขวบ จากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน
                        การทดลอง เริ่มจากการทำวิจัย (กิจกรรมการสอน ศิลปะสร้างสรรค์)
1 ประเมินทักษะคณิตศาสตร์
2 ดำเนินกิจกรรมการสอน
    จากการสังเกตเด็กมีการปรับตัวเข้ากับกิจกรรมการสาน เด็กเริ่มสนใจและภูมิใจในผลงานของตนเอง มีความกะตือรือล้นที่จะเรียนรู้ และยังได้ความรู้เรื่องทักษะคณิตศาสตร์ พัฒนาการด้านร่างกายประสานสัมพันธ์ระกว่างกล้ามเนื้อมือกับตา
วิดีโอเรื่อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์จากธรรมชาติรอบตัวกับ 6 กิจกรรมหลักของเด็ก เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       1 กิจกรรมปูมีขา อยู่ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่นปูมี 8 ขา มีกล้ามปู 2 ข้าง เปรียบเทียบกับมือของเรา 
       2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กออกไปเรียนใต้ต้นไม้ แบ่งกลุ่มไปนับใบไม้ออกเป็นสองกอง โดยให้เด็กจัดการเองว่ากองที่ 1 มีใบไม้ 15 ใบ กองที่ 2 มีใบไม้ 5 ใบ หรือจะแบ่งอย่างไรก็ได้ตามความคิดของเด็ก 
       3 ใบไม้แสนสวย กิจกรรมสร้างสรรค์ จะมีรูปทรงพิมพ์ภาพจากใบไม้ ฉีกใบไม้ติดแปะลงในตัวเลขอนุกรมแบบรูป รูปทรง
       4 มุมคณิต กิจกรรมเสรี เป็นการนำเอาสิ่งต่างๆจากครัวเรือนมาปรับใช้ เช่น มีเลข 4 ไปเอาไข่มา 4 ฟอง
       5 เกมกระต่ายเก็บของ กิจกรรมกลางแจ้ง สวมหมวกกระต่ายไปเก็บของตามจำนวนที่ครูกำหนด
       6 เกมก้อนหินหรรษา เกมการศึกษา นำก้อนหินสีขาวและสีแดงมาวางบนตัวเลข 
การจัดประสบการณ์ต้องดูเด็กเป็นสำคัญจัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก และนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการกับธรรมชาติรอบๆตัว


ทักษะ
       - ทักษะการออกแบบ
       - ทักษะการคิด (การคิดจากการพับกระดาษแล้วแบ่งออกเป็น 4 ช่องเท่าๆกัน)
       - ทักษะฟัง
       - ทักษะการเขียน
       - ทักษะการใช้เทคโนโลยี
       - ทักษะความเป็นครู


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กได้ คือ ให้เด็กแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แล้วให้วาดรูปที่ตนเองชอบลงไปทั้ง 4 แผ่น เด็กก็จะได้เรียนรู้การนับจากการแบ่งกระดาษ
        จากวิดีโอที่เพื่อนนำเสนอวันนี้เรื่อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว เป็น       การบูรณาการคณิตศาสตร์จากธรรมชาติรอบตัวกับ 6 กิจกรรมหลักของเด็ก เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
เช่นกิจกรรมปูมีขา อยู่ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่นปูมี 8 ขา มีกล้ามปู 2 ข้าง เปรียบเทียบกับมือของเรา กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กออกไปเรียนใต้ต้นไม้ แบ่งกลุ่มไปนับใบไม้ออกเป็นสองกอง โดยให้เด็กจัดการเองว่ากองที่ 1 มีใบไม้ 15 ใบ กองที่ 2 มีใบไม้ 5 ใบ หรือจะแบ่งอย่างไรก็ได้ตามความคิดของเด็ก และการจัดประสบการณ์ต้องดูเด็กเป็นสำคัญจัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก และนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการกับธรรมชาติรอบๆตัว สามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับเด็กได้


เทคนิคการสอนของครู
  1. ตั้งคำถาม สอนเรื่องคุณธรรมความเป็นครู
  2. ให้ประเด็นปัญหา คือแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้พับแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน
  3. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
  4. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
  5. ให้ทำกิจกรรม การจัดความสมดุลของกระดาษ

ประเมินครูผู้สอน
      ครูให้ความรู้และมีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษาได้คิดและได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ครูยิ้มแย้มแจ่มใสมีการให้ข้อเสนอแนะและเทคนิควิธีการที่นักศึกษาควรปฏิบัติ มีการสอดแทรกคุณธรรมเรื่องความเป็นครูอยู่เสมอ







วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป งานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานวิจัย การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

ของ นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ /หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ /มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2548

     คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์รวมถึงเป็นความรู้เครื่องมือที่ใชอยู่ในชีวิตประจำวัน การเตรียมความพร้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวุฒิภาวะและความสนใจมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญของเด็กที่ควรได้รับและส่งเสริมให้พัฒนา โดยผู้วิจัยได้จัดทำวิจัยการเปรียบเทียบประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตสาสตร์ โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูและการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงเพื่อความพร้อมของเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี เนื่องจากเกมการศึกษาและเพลงเป็นสื่อที่นักเรียนชอบ เหมาะสมกับวัย ช่วยให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ดีและเร็วขึ้น เพื่อจะได้ปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป และเพื่อแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ

     การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนสองกลุ่ม โดยจัดประสบการณ์ตามแผนการสอน
     ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ของโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี โดยสุ่มตัวอย่างจาก 2 ห้องเรียน คือห้อง 2/4 และห้อง 2/6 ห้องเรียนละ 30 คน โดยห้อง 2/4 เป็นกุ่มทดลอง และ 2/6 เป็นกลุ่มควบคุม
กลุ่มควบคุม     ได้รับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
กลุ่มทดลอง     ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
เนื้อหาที่นำมาใช้ทดลอง คือ เนื้อหาที่สร้างแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) การนับสิ่งต่างๆ 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3)การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ 4)การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง


วิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง 
         โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน แล้วใช้เกมและเพลงที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เร้าความสนใจของเด็ก นำเข้าสู่บทเรียน ให้ความรู้ใหม่โดยครูอธิบายกติกาการเล่นเกมแต่ละเกมแล้วนักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองเล่นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทำการสังกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ ให้เด็กสรุปความรู้ที่ได้จากการเล่น ทดสอบหลังเรียน

วิธีการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
          โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน ครูแจกเกมการศึกษาอธิบายวิธีการเล่นเกมการศึกษาแต่ละชนิด นักเรียนทดลองเล่นเกมการศึกษาและเล่นตามคู่มือครู ทำการสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปความรู้ที่ได้รับ ทดสอบหลังเรียน

ผลสรุป หลังจากจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองปละกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน  โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเเละเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเนื้อหาการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด และการนับจำนวนเพิ่ม ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด จากความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า เด็กมีควมพึงพอใจในการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาทุกด้าน ทั้งบรรยากาศ และวิธีการ
       

ดูตัวอย่างแผนได้ที่ https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwi7wbm_55TKAhWCcY4KHdFmADYQFgggMAE&url=http%3A%2F%2Fwww.thapra.lib.su.ac.th%2Fobjects%2Fthesis%2Ffulltext%2Fsnamcn%2FSutheera_Thaowetsuwan%2FFulltext.pdf&usg=AFQjCNEpNzUpPF1WFYmmVrLtGURmMu-yLQ&sig2=cCyFJLZtKW4Gkj9MbcU8ww&bvm=bv.110151844,d.c2E





สรุปวีดีโอ


วีดีโอ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
          การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมเกรทบาร์  ในเบอร์มิงแฮมมีวิธีการสังเกตการ­ณ์เด็ก ๆ และวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลและ­เตรียมประถม โดยครูที่นี่สอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคล และโรงเรียนคิดว่าปรัชญาการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะสร้างความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน โรงเรียนมีการทำให้เด็กมั่นใจกับการคิดเลขและใช้ตัวเลขจะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ ครูทุกท่านในโรงเรียนจะทำการปูพื้นฐานคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็ก

ครูอแมนดา แม็กเคนนา เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรทบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ในรายการ ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื­่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย






สรุปบทความ



บทความ เรื่อง นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

              การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กจะต้องเรียนรู้
             ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวนดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้  สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง
        ต่อมามีการสร้างชุดกิจกรรม BBL  Brain – Based Learning  ) พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย การรู้ค่าจำนวน 1-5 ขึ้นมาไว้สำหรับปัญหาด้านการไม่รู้ค่าจำนวนของเด็ก 
ชุดกิจกรรมและกระบวนการชุดนี้ออกแบบโดยใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองเป็นฐานข้อมูลBBL Brain – Based Learning ) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาโดยให้เด็กมีประสบการณ์สำคัญ สนองตอบต่อความสามารถและความถนัดในการใช้สมองที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของแต่ละบุคคลโดยการฝึกให้ปฏิบัติซ้ำๆ
ประกอบด้วยกระบวนการใช้กิจกรรม 4 ขั้นตอน

1) ขั้นสร้างความสนใจ กิจกรรมที่ใช้  เพลง,  เกม/การเคลื่อนไหวประกอบเพลง,
การเล่นบทบาทสมมติประกอบเพลง
2) ขั้นให้ประสบการณ์ กิจกรรมที่ใช้  การเล่านิทานประกอบภาพ,  การนิทานประกอบแผ่นป้ายสำลี,  การเล่านิทานประกอบการแสดงท่าทาง
3)  ขั้นปฏิบัติงานฝึกทักษะ  กิจกรรมที่ใช้  เกมการศึกษา,  แบบฝึกทักษะ,  หนังสือเล่ม
เล็ก,กิจกรรมศิลปะ
4) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้  ( การประเมินพัฒนาการทางสติปัญญา) กิจกรรมที่ใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้

จากผลการศึกษาพบว่า เด็กชอบสื่อประเภทนิทาน และจากผลงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชอบนิทานประเภทคำคล้องจอง เพราะมีภาษาและเสียงที่มีสัมผัศคล้องจองทำให้เด็กเพลิดเพลิน และง่ายต่อการจดจำ นำไปพูดต่อ

                     ตัวอย่างนิทานในชุดกิจกรรมที่ ตัวเลขสวัสดี

                                          นิทานเรื่อง ตัวเลขสวัสดี
( ผู้แต่ง  นาถศจี สงค์อินทร์ )

                   สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก                            ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
            ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง                       ตัวฉันเองชื่อเลข หนึ่งไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้                                        ฉันเลข หนึ่งไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก                           ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
            ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง                       ตัวฉันเองชื่อเลข สองไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้                                        ฉันเลข สองไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก                           ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
            ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง                       ตัวฉันเองชื่อเลข สามไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้                                        ฉันเลข สามไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก                           ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
            ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง                       ตัวฉันเองชื่อเลข สี่ไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้                                        ฉันเลข สี่ไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก                           ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
            ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง                       ตัวฉันเองชื่อเลข ห้าไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้                                        ฉันเลข ห้าไง สวัสดี สวัสดี
            เรียนรู้เลขหนึ่งถึงห้า                         ว่าหน้าตาฉันเป็นอย่างนี้
เด็กๆช่วยนับอีกที                                         หนึ่งถึงห้านี้นับพร้อมๆกัน
1….     2 ….    3 ….    4 ….    5 ….

อ้างอิงบทความ : https://www.l3nr.org/posts/257900




วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 
วันพุธ ที่ 13 มกราคม 2559



บรรยากาศการเรียน
         บรรยากาศในการเรียนวันนี้ยังคงความสนุกสนุกสนานไว้เช่นเคย อาจารย์มีความเป็นกันเองและให้ข้อคิด ประเด็นปัญหาที่สนุก และเพื่อนๆก็จะช่วยกันไขปัญหา ปัญหาวันนี้คือ คณิตศาสตร์คืออะไร ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมก็จะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เสมอ


สาระ
          คณิตศาสตร์ หมายถึง การคิดในชีวิตประจำวันที่มีองค์ประกอบ เช่น ตัวเลข จำนวน เวลา เป็นต้น อและคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือเปรียบเหมือนภาษาสำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เพราะในชีวิตประจำวันเราต่างมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ *สิ่งใดที่ขาดไปแล้วมีผล กระทบกับเราแสดงว่าสิ่งนั้นสำคัญ คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน. เช่น

 - การนับจำนวนแคลอรี่
 - เวลา
 - รูปทรง (การออกแบบภาพ)
 - พื้นผิว (วัตถุเรียบ ขรุขระ)
 - ค่าเงิน
 - การ ชั่ง ตวง วัด (ในการซื้อของ หรือออกแบบ)
 - ภาษีเงินได้ของประชาชน

         การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คณิตศาสตร์    - หมายถึงตัวเลข การคำนวณ การคิดที่มีองค์ประกอบ
                       - ความสำคัญ คณิตศาสตร์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                       - สาระ จำนวน การวัด เลขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะ
                       - ประโยชน์ คณิตศาสตร์มีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน

เด็กปฐมวัย     - ความหมาย เด็กที่มีอายุอยู่ในช่วง 3-6 ปี
                      - พัฒนาการ กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น
                    - การเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมโดยผ่านประสบการณ์หรือผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

การจัดประสบการณ์   - หลักสูตร
                               - หลักการ
                               - แนวทาง
                               - การนำไปใช้ (เขียนแผน)
                               - สื่อ
                               - การจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครอง


ทักษะ
  1. ทักษะการคิดจากปัญหา โดยการที่ครูแจกกระดาษให้คนที่ 1 แล้วหยิบไปคน 1 แผ่น ที่เหลือส่งให้เพื่อน ครบแล้วที่เหลือส่งคืนครู และเมื่อกระดาษเหลือครูก็ให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง คือ การแจกกระดาษ มีการจำแนก เลืกกระดาษที่มีที่ว่าง การนับ นับ1 ต่อ 1 การคิดอย่างมีเหตุผล การเปรียบเทียบ
  2. ทักษะการสื่อสาร ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  3. ทักษะการเขียน เขียน mind map กาจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  4. ทักษะการออกแบบ mind map แบ่งหัวข้อออกเป็น 3 ส่วน


การนำไปประยุกต์ใช้
          การเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ทำให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสนตร์มากขึ้น รู้ความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถนำเทคนิคการสอนของครูในเรื่องการแจกกระดาษวันนี้ไปปรับใช้กับเด็ก โดยให้กิจกรรมที่เด็กได้คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล


เทคนิคการสอนของครู
  1. ตั้งคำถาม สอนเรื่องคุณธรรมในการครองตน ให้รู้จักหน้าที่การเป็นนักศึกษา
  2. ให้ประเด็นปัญหา คือแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้คิดว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  3. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
  4. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
  5. ให้ทำกิจกรรม mind map

ประเมินครูผู้สอน
      ครูอธิบายอย่าละเอียด ให้ความรู้ได้เข้าใจ ทวนซ้ำพูดซ้ำๆและเน้นคำสำคัญให้เสมอ ทีเทคนิควิธีการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ คือ ให้ความรู้จากกระดาษแผ่นเดียวแต่มีความรู้มากมายในนั้น มีความเป็นกันเองบรรยายากาศในการเรียนไม่เครียด เต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีการสอดแทรกคุณธรรมให้นักศึกษาควรคำนึงถึงอยู่เสมอ





วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559



บรรยากาศการเรียน
       บรรยากาศในการเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นระหว่างครูและนักศึกษา ดิฉันได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และได้อธิบายความรู้พื้นฐานในการใช้คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย


สาระ
       แนวทางการทำบล็อก ได้แนวทางในการทำบล็อก เริ่มจากการสร้างบล็อกใหม่ ทำรูปแบบบล็อกโดยหัวข้อแรก คือ บรรยากาศ สาระ ทักษะ การนำไปประยุกต์ใช้ วิธีการสอนของครู และประเมินครูผู้สอน นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มลิงก์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น โทรทัศน์ครู สสวท งานวิจัย และบทความ ลงไปในบล็อกด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา



ทักษะ
       ทักษะการคิดจากการแก้ปัญหา - โดยการที่ครูแจกกระดาษ แล้วให้นักศึกษาแบ่งกันเอง  โดยกระดาษ 1 แผ่น แบ่งกัน 3 คน รอบแรกนักศึกษาคิดด้วยตัวอง ต่อมาครูระดมความคิดว่า จะแจกกระดาษอย่างไรให้เร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้การส่ง นักศึกษาก็ช่วยกันระดมความคิดคือ คนที่รับกระดาษมาคนแรกนับเพื่อนในห้องทั้งหมด เช่นทั้งหมดในห้องมี 19 คน หาร 3 คือใช้กระดาษประมาณ 8 แผ่นหยิบออกมาช่วยกันตัด แล้วที่เหลือก็คืนครู (มีการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น)
       ทักษะการใช้เทคโนโลยี
       ทักษะการออกแบบ (บล็อก) 
       ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
       ทักษะการลำดับความคิด
       ทักษะการสื่อสาร


การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแจกของเด็ก เช่น แจกกระดาษให้เด็กโดยส่งให้หยิบคนละแผ่น ดูกระบวนการคิดของเด็กว่าเด็กจะหยิบไปคนละแผ่น หรือคนแรกจะนับเพื่อนในห้องแล้วส่งที่เหลือคืนครู หรือเด็กที่ได้รับกระดาษไปคนแรกจะเดินแจกเพื่อนๆคนละแผ่น


เทคนิคการสอนของครู
1 ให้ประเด็นปัญหา      
     - โดยการที่ครูแจกกระดาษ แล้วให้นักศึกษาแบ่งกันเอง  โดยกระดาษ 1 แผ่น แบ่งกัน 3 คน รอบแรกนักศึกษาคิดด้วยตัวอง ต่อมาครูระดมความคิดว่า จะแจกกระดาษอย่างไรให้เร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้การส่ง นักศึกษาก็ช่วยกันระดมความคิดคือ คนที่รับกระดาษมาคนแรกนับเพื่อนในห้องทั้งหมด เช่นทั้งหมดในห้องมี 19 คน หาร 3 คือใช้กระดาษประมาณ 8 แผ่นหยิบออกมาช่วยกันตัด แล้วที่เหลือก็คืนครู (มีการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น)
2 ให้แสดงความคิดเห็น
     - ตั้งคำถามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่านักศึกษาแต่ละคนมีความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กอย่างไร และคณิตศาสตร์ำหรับเด็กคืออะไร
3 บรรยาย                    
      - บรรยายเกี่ยวกับการทำบล็อก และการนำเสนองาน
          

ประเมินครูผู้สอน
          ครูมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคน และให้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เบื้องต้นได้เข้าใจ มีการเริ่มต้นการเรียนอย่างสนุกสนาน มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา คือให้เข้าเรียนตรงเวลา และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย