วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553
การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ
ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
- กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพส้ม
2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
3. ผลส้ม
4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้
ที่มา http://doi1.nrct.go.th/?page=download_digital_file&bibid=8900&file_id=72590&id=0b587054b19aa2d38b720dacc50165c8