วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559


บรรยากาศการเรียน
        
                 บรรยากาศการเรียนในวันนี้ค่อนข้างเย็นสบาย อากาศหนาว อาจารย์และนักศึกษามาพร้อมกันตรงเวลา ช่วงแรกอาจารย์เปิดวิดีโอให้ดูแล้วรีบลงไปร่วมงานวิชาการแล้วกลับขึ้นมาสอนตามปกติ บรรยากาศในการเรียนสนุกสนานเหมือนเคย

สาระ
1. วีดีโอการเรียนรู้


สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
1. การเขียนชาร์ต คือ การมีตัวเลขกำกับลำดับข้อ
2. การใช้เงินซือเห็ด
3. การวัดขนาดในการทำบ้านเห็ดยักษ์
4. รู้รูปทรงของเห็ด

2. กิจกรรมการเรียนรู้
         ครูแจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่นแล้วตีตารางออกเป็น 10 ช่อง 2 แถว ตารางที่ 2 ตีตาราง 10 ช่อง 3 แถว กว้าง 1 เซน ยาว 1 เซน เท่าๆกัน


จากตารางที่ 1 ครูให้นักศึกษาลองแรเงาตาราง 2 ช่องที่ติดกัน โดยแรเงารูปแบบไหนก็ได้ จะเป็นแนวยาว แนวตรง แนวเฉียง ก็ได้

จากตารางที่ 2 ครูให้นักศึกษาแรเงาตาราง 3 ช่องที่ติดกัน โดยแรเงารูปแบบไหนก็ได้ จะเป็นแนวยาว แนวตรง แนวเฉียง ก็ได้ และครูยังบอกอีกว่านักศึกษาสามารถต่อเติมตารางให้มากกว่า 10 ช่องก็ได้ เพื่อจะได้แรเงาตาราง 3 ช่อง ได้หลากหลายรูปแบบ

       การจัดกิจกรรมควรดูความสามารถหรือพัฒนาการเด็ก ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง และวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 *ครูย้ำสิ่งนี้ให้นักศึกษาคำนึงถึงเสมอ
       จากกิจกรรมตาราง หากนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กอนุบาล ครูอาจจะให้เด็กลองต่อบล็อกก่อนเพื่อให้เด็กได้มองเห็นภาพ แล้วค่อยนำมาระบายในตารางในกระดาษ    *การออกแบบตาราง การต่อเติม คือ การคิดหาวิธีที่จะต้องทำให้ได้มากกว่าที่มีอยู่ ไม่ใช่มีแค่นั้นก็หยุดเพียงแค่นั้น เราต้องเสริมต่อเติมใ้เพิ่มขึ้นไปให้ได้

3. นำเสนอ

บทความ เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" 

วิดีโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้
ของครู นิตยา ถาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว
ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก

วิจัย *ในสัปดาห์นี้ต้องแก้ไขแล้วมานำเสนออาทิตย์หน้า

ทักษะ
  1. ทักษะการออกแบบตาราง
  2. ทักษะกระบวนการคิดการต่อเติมตาราง
  3. ทักษะการดูวิดีโอ 
  4. ทักษะการใช้เทคโนโลยี
  5. ทักษะการฟังการนำเสนอ
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. จากกิจกรรมตาราง หากนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กอนุบาล ครูอาจจะให้เด็กลองต่อบล็อกก่อนเพื่อให้เด็กได้มองเห็นภาพ แล้วค่อยนำมาระบายในตารางในกระดาษ    *การออกแบบตาราง การต่อเติม คือ การคิดหาวิธีที่จะต้องทำให้ได้มากกว่าที่มีอยู่ ไม่ใช่มีแค่นั้นก็หยุดเพียงแค่นั้น เราต้องเสริมต่อเติมใ้เพิ่มขึ้นไปให้ได้
  2. การดูวิดีโอ Project approach โทรทัศน์ครู สามารถนำกิจกรรมไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
  2. ให้นักศึกษาเรียนรู้จากวิดีโอ
  3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
  4. ให้ทำกิจกรรมตาราง
  5. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม
  6. ให้นักศึกษานำเสนอข้อมูล

ประเมินครูผู้สอน


    อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน เข้าสอนตรงเวลา มีเทนนิคการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและเป็นประชาธิปไตยเสมอ นึกถึงนักศึกษาเป็นสำคัญ มีการสอดแทรกคุณธรรมให้นักศึกษาพึงประพฤติปฏบัติ
   ป.ล. แอบเสียใจเล็กน้อยที่ไม่ได้นำเสนอวิจัยวันนี้ เนื่องจากเป็นวิจัยที่ผ่านมานานแล้ว ในปัจจุบันนี้มีการทำวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ออกมามาก อาจารย์จึงแนะนำให้ลองศึกษาวิจัยในปัจจุบันมานำเสนอให้เพื่อนๆได้ศึกษา จึงต้องกลับมาค้นคว้าใหม่แล้วนำเสนอในครั้งต่อไป ขอบคุณมากค่ะ ^^




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น