บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559
บรรยากาศการเรียน
วันนี้อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องเรียนกันตรงเวลา บรรยากาศการเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นกันเอง ครูยิ้มแย้มแจ่มใสนักศึกษาก็ยิ้มแย้มแจ่มใสตั้งใจเรียนฟังคำแนะนำของคุณครูเป็นอย่างดี
สาระ
1. กิจกรรมนำเสนอ
วิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ (นายอารักษ์ ศักดิกุล)
การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
ความมุงหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง
กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ป ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 20 คน
กิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก
แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม ขนมปงแผนแตงหนา
จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง สีขาว สีเขียว สีชมพู
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา ขนมปงแผนแตงหนา
กิจกรรมการเรียนรู
ขั้นนํา (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน สีขาว นิยมทานคูกับแยม
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน ดังนี้
2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร มีสีอะไร
2.2 ขนมปงมีสีอะไร รสชาติเปนอยางไร มีใครเคยทานบาง
2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร
2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม และมีประโยชนอยางไร
ขั้นสอน
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง
2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน
4. เด็กชวยกันเก็บของ ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู ดังนี้
1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม
1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน และอะไรที่ตางกัน ตางกันอยางไร
1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน
1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง
สื่อการเรียน
1. ขนมปงแผนรูป
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี คือ แยมสม แยมสตอเบอรี่ แยมบลูเบอรรี่ แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน
5. ผาพลาสติกปูโตะ
6. ถาดสําหรับใสขนม
การประเมินผล
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม
2. กิจกรรมการเรียนการสอน
นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์แต่ละหน่วยที่ทุกกลุ่มเตรียมมา
หน่วย ยานพาหนะ
สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ มี 3 ประเภท คือ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ขั้นนำเริ่มด้วยการถามประสบการณ์เดิมว่า "ตอนเช้าเด็กๆมาโรงเรียนกันด้วยยานพาหนะอะไรบ้าง" ขั้นสอน ครูแนะนำอุปกรณื คือ ยานพาหนะที่อยู่ในกล่องและถามเด็กๆว่า ยานพาหนะประเภทนี้ควรจะอยู่ทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ ให้เด็กๆออกมานำยานพาหนะไปติดทีละคน เช่น บอลลูน นไปติดบนฟ้า เป็นต้น
กลุ่มนี้อาจารย์ให้คำแนะนำว่า กล่องที่ใช้ใส่ยานพาหนะให้ลองใช้ผ้าคลุม สมมติเป็นโรงเก็บยานพาหนะ และควรสอนไปอย่างเป็นขั้นตอน จากง่ายๆไปหายาก ไม่ควรมองข้ามจุดเล็กๆที่เราสามารถเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ เช่น นำยานพาหนะออกมา แล้วนำตัวเลขฮินดูอารบิคไปติดกำกับไว้ เป็นต้น
หน่วย ของเล่นของใช้
สอนเรื่องประเภทของเล่นของใช้ คือ มี 2 ประเภทได้แก่ ของเล่น และของใช้ ขั้นนำ เริ่มด้วยเพลงเก็บของ และเชื่อมโยงด้วยคำถาม คือ ถามเด็กๆว่า เวลาที่เด็กเล่นหรือใช้ของใช้ เด็กๆเก็บเข้าที่กันหรือเปล่า แล้วของเล่นของใช้ที่เด็กๆรู้จักหรือเคยใช้มีอะไรบ้าง (ถามประสบการณ์เดิม) ขั้นสอน สอนด้วยการที่ครูนำสื่อองเล่นของใช้ของจริงมาให้เด็กดู และบอกชื่อของชิ้นนั้น ครูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น และครูให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง ขั้นสรุป คือให้เด็กออกมาเสนอว่าของเล่นที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ และครูพูดสรุปว่าของเล่นของใช้มีกี่ประเภท
กลุ่มของดิฉัน อาจารย์ให้คำแนะนำว่า เพลงที่นำมาใช้ควรเป็นเพลงอื่น เพราะเพลงนี้น่าจะไปอยู่ในหัวข้อการดูแลรักษา และต้องมีการสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน สื่อที่นำมาให้เด็กดู ควรมีเกณฑ์บอก คือนิยามของคำว่าของใช้ ของใช้คือสิ่งที่เรานำมาใช้แล้วมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ส่วนสิ่งที่นำมาใช้แล้วไม่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตก็ให้จัดอยู่ในกลุ่มของเล่น เป็นต้น และภาชนะที่ใช้ใส่ของเล่นของใช้ควรเป็นตะกร้าไม่ควรเป็นถุงกระดาษ ถ้าหากพูดว่า วันนี้ครูไปช้อปปิ้งมาได้ของมาเยอะเเยะเลยเด็กๆลองทายสิว่าในถุงนี้ครูซื้ออะไรมาบ้างน้า อาจใช้เป็นถุงกระดาษได้ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์)
หน่วย ผลไม้
สอนเรื่องชนิดของผลไม้ ที่ยกมาวันนี้คือผลไม้ 2 ชนิด มะยงชิด กับองุ่น ครูพูดคุยถามเด็กเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้ลองสังเกตผลไม้แต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร ให้สังเกต รูปทรง กลิ่น สี ส่วนประกอบ และรสชาติ ของผลไม้ และสรุปโดยการให้เด็กๆช่วยกันตอบว่าผลไม้ 2 ชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง
อาจารย์แนะนำว่า การสอนต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นแพทเทิล เช่น ครูให้เด็กสังเกตภายนอกก่อน รูปทรง สี ขนาด แล้วค่อยดูภายในคือส่วนประกอบ อาจจะผ่าให้ดูแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆให้เด็กดมกลิ่น และชิมรส ขั้นสรุปครูควรเป็นผู้สรุปว่าผลไม้ทั้งสองชนิดมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง และลักษณะของผลไม้เป็นอย่างไร
หน่วย กล้วย
สอนเรื่องชนิดของกล้วย ที่ยกมาวันนี้คือ กล้วย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า ขั้นนำโดยเพลงกล้วย ครูนำกล้วยชนิดที่ 1 ให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วครูเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ต่อมา ครูนำ กล้วยชนิดที่ 2 ขึ้นมาให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กๆว่ามีลักษณะอย่างไรพร้อมเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นสรุป ครูสรุปว่ากล้วยมีลักษณะ สี ขนาด รูปทรง รสชาติ กลิ่น ส่วนประกอบ เป็นอย่างไร
ครูเสนอว่า ตารางวิเคราะห์ควรเรียงลำดับเป็นขั้นตอน คือสี รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และรสชาติ แล้วค่อยพูดถึงเรื่องขนาดเมื่อนำกล้วยทั้งสองชูขึ้นมาให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบเล็กกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น สอนจากง่ายไปยากเพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
หลังจากทุกกลุ่มนำเสนอครบเรียบร้อยแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไป คือ วันพุธ หัวข้อ การดูแลรักษาของเล่นของใช้ วันพฤหัส หัวข้อ ประโยชน์
แผนเรื่อง การดูแลรักษา
ขั้นนำ
เริ่มต้นด้วยแผ่นชาร์จเพลง เก็บของ พูดคุยสนทนากับเด็ก
ขั้นสอน
ครูเตรียมอุปกรณ์ของเล่นของใช้วางคละกัน ถามเด็กๆว่าจะมีวิธีเก็บรักษาของเล่นของใช้กันแบบไหนกันบ้าง จากนั้นก็จะแยกประเภทของเล่นของใช้ เช่น ของใช้เป็นจาน ช้อน แก้ว เราก็ต้องทำความสะอาดด้วยการล้างแล้วก็เอามาคว่ำให้แห้งแล้วถึงเก็บเอามาจัดวางให้เรียบร้อย ส่วนของเล่นเราก็เอามาจัดวางให้เรียบร้อยเวลาที่เราเล่นเสร็จเราควรเอามาทำความสะอาดและเอามาผ้าเช็ดอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
ขั้นสรุป
ครูพูดสรุปวิธีการดูแลรักษาของเล่นของใช้ในวันนี้เราทำอะไรกันบ้าง สรุปว่าความแตกต่างของใช้เราต้องทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้ ส่วนของเล่นเมื่อเราเล่นไปนานๆอาจจะสกปรกหรือมีฝุ่นเกาะเราอาจจะนำออกมาทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง
ทักษะ
1. ทักษะการฟัง
2. ทักษะการสังเกต
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
5. ทักษะในการเป็นผู้สอน (เป็นผู้สอนที่ดี)
6. ทักษะในการคิดต่อยอดองค์ความรู้
การนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้ในเรื่องของเนื้อหา หน่วยที่เราจะต้องใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ไม่ใช่เพียงรู้แต่หน่วยของกลุ่มตนเองเองเท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้หน่วยอื่นๆของเพื่อนที่นำมาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้เรานำไปประยุกต์ทำแผนการสอนได้เมื่อเราจัดกิจกรรมในหน่วยนั้นๆ และวิธีการสอนต้องสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆก่อน สิ่งไหนจุดใดที่เราสามารถเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้เราก็ไม่ควรพลาดที่จะเติมเข้าไป เพราะจะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย และเป็นผลดีต่อตัวครูที่จะได้เรียนรู้ไปด้วย
เทคนิคการสอนของครู
1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. จำลองสถานการณ์จริง
3. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
4. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้
ประเมินครูผู้สอน
ครูละเอียดมากในวันนี้ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ ครูอธิบาย ยกตัวอย่าง ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไข เสริมความรู้ใหม่ๆพร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของการเป็นผู้ฟังที่ดีให้แก่นักศึกษาอยู่เสมอ