วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพุธ ที่ 2 มีนาคม 2559

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

สื่อคณิตศาสตร์
นับเลข
ลูกคิด
บล็อกรูปทรง
เมล็ดพืช
การจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ปฎิทินและนาฬิกา
ตารางมาเรียนของเด็ก
วัดส่วนสูง
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach
            จัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก  เป็นการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
กระบวนการ
         1.การอภิปรายกลุ่ม  ในงานโครงการ  ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
          2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อมมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
          3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม  เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
         4.การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่องอาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
           5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้นครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
วิธีการจัดการเรียนการสอนมี 3 ระยะ
1. ระยะเริ่มต้น
2. ระยะดำเนินการ
3. สรุปโครงการ
 
     การระดมความคิดเป็นการเสนอความคิดของเด็กแต่ละคนที่สนใจจะศึกษาเรื่องต่างๆแล้วให้สมาชิกทั้งหมดในห้องร่วมกันลงความเห็นว่าควรจะเรียนเรื่องใดโดยการลงคะแนนในตาราง

จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนละการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะทางคณิตศาสตร์
1. การนับบอกจำนวน
2. การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า
3. การใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน





          ระยะดำเนินการโครงการก้อนหิน ครูจะนำหิน แต่ละชนิดและหลากหลายขนาด นำมาให้เด็กได้สังเกตความแตกต่าง และลักษณะของหิน ทดลองโดยการนำหินแต่ละชนิดไปชั่งว่าหินทุกก้อนเท่ากันหรือไม่ หินแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และมีทั้งขนาดใหญ่ขนาดเล็ก เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่เด็กอยากรู้

ทักษะคณิตศาสตร์
1. การสังเกต
2. การจำแนกประเภท
3. การเปรียบเทียบ
4. ทักษะการนับ
5. ทักษะการวัด
6. ทักษะเกี่ยวกับรูปทรงและขนาด

เกี่ยวข้องกับ 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้
1. กิจกรรมสร้างสรรค์
2. กิจกรรมเสรี
3. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
4. กิจกรรมกลางแจ้ง
5. กิจกรรมเกมการศึกษา
6. กิจกรรมเคลื่อนไหว 

การวัดและประเมินผล
- การสังเกต
- การสัมภาษณ์
- การตรวจผลงาน


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. จากการศึกษาดูงานทำให้เข้าใจหลักการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กโดยการใช้สิ่งของรอบๆตัวมาเป็นสื่อการเรียนได้
  2. นำกิจกรรม โครงการก้อนหิน มาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้นอกจากนี้ยัสามารถบูรณาการได้หลากหลายกิจกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น